Home / ข่าวเด่น / รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด

รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด

“จุดอ่อนของฉัน อยู่ตรงที่หัวใจ ที่ทำเป็นแข็งแรง ที่ฉันแสดง ที่แท้แทบขาดใจ” เรื่องของหัวใจยังไงก็สำคัญ อวัยวะทุกส่วนของร่างกายดำรงอยู่ได้ก็เพราะมี “หัวใจ” เป็นศูนย์กลางควบคุม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หัวใจอ่อนแอจากภาวะหัวใจขาดเลือด ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย

แน่นอน รู้หรือไม่ว่า จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก ร้อยละ 80 เสียชีวิตด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และเพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากโรคหัวใจ จึงกำหนดให้ทุกวันที่ 29 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันหัวใจโลก”

รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด thaihealth

และเนื่องด้วยสาเหตุข้างต้นเหล่านี้ เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หนึ่งในกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญที่ สสส. และภาคีเครือข่ายทำงานร่วมกัน ในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ลดความเสี่ยงจากกลุ่มโรค NCDs

ดร. สุปรีดา  อดุลยานนท์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย  มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ทั้งการสูบบุหรี่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม  การขาดกิจกรรมทางกายร่วมกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคมในครัวเรือน

“สสส. สนับด้านงานวิชาการ และงบประมาณมาตลอด 10 ปี สร้างการรับรู้ รณรงค์ให้คนไทยหันมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค มีกิจกรรมทางกายที่มากขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงจากเหล้า บุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค NCDs มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะให้คนไทย” ดร. สุปรีดา กล่าว

อาการแบบไหนบ้างที่บ่งบอกว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือด

  • เจ็บตรงหน้าอกซีกซ้ายตำแหน่งหัวใจ
  • มีลักษณะปวดแบบจุก ๆ เหมือนถูกบีบ หรือถูกของกดทับ ขณะมีอาการจะอ่อนเพลียร่วมด้วย
  • มีอาการปวดร้าวบริเวณต้นคอจนถึงขากรรไกร ปวดหัวไหล่ หรือปวดแขน

“รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด” วิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้ เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย

1. งดการสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2. อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน รักษาน้ำหนักและสุขภาพเสมอ

3. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอลสูง เพิ่มการกินผักผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง

4. ลดภาวะความเครียดทางอารมณ์ ฝึกสมาธิ ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

5. ตรวจร่างกายประจำปี หากมีประวัติญาติหรือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ควรตรวจร่างกายทุกปี และประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

6. ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดควรพบแพทย์สม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือภาวะแทรกซ้อนได้

รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด thaihealth

“ภารกิจป้องกันก่อนรักษา” เป็นสิ่งที่ สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมกันขับเคลื่อน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงภัยสุขภาพ รณรงค์ให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจากเหล้า บุหรี่ และเพิ่มกิจกรรมทางกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้คนไทยห่างไกลจากโรค NCDs

About aujchara.to

Check Also

ศูนย์กีฬาและสุขภาพเปิดให้บริการแล้ว

ศูนย์กีฬาและสุข …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *